
อาโชโลตล์ หรือ ปลาตีนเม็กซิโก จริงๆแล้วไม่ใช่ปลา แต่เป็นสัตว์เลื้อนคลาน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ambystoma mexicanum พบได้ตามทะเลสาบรอบเมืองเม็กซิโกซิตี้ ในประเทศเม็กซิโก และกินสัตว์เล็กๆเป็นอาหาร เช่น หนอน แมลง และปลาตัวเล็ก โดยดมกลิ่นพื่อจับเหยื่อและดูดอาหารเข้าไปในท้อง

พวกมันโตเต็มที่ใน 18-24 เดือน มีความยาวเฉลี่ย 23 เซนติเมตร ถ้าตัวใหญ่กว่า 30 เซนติเมตรจะค่อนข้างหายาก อวัยวะต่างๆเหมือนกับตัวอ่อนซาลาแมนเดอร์ ทั้งเหงือกภายนอก และครีบหางหลังหัว ส่วนหัวกว้าง ไม่มีเปลือกตา โดยปกติจะมีสีน้ำตาล แต่ก็เกิดการกลายพันธุ์เป็นสีอื่นๆได้ทั้งสีชมพู ทอง เทา และดำ

ความพิเศษของมันก็คือ พวกมันโตเต็มที่ได้โดยไม่ผ่านระยะ metamorphosis (การเปลี่ยนแปลงรูปร่างระหว่างเจริญเติบโต) ยกตัวอย่างอย่างเช่น กบ ในช่วงแรกเป็นลูกอ๊อดอาศัยอยู่ในน้ำ แล้วพัฒนาอวัยวะจนสามารถอาศัยอยู่บนบกได้ แต่อาโชโลตล์ข้ามขั้นตอน metamorphosis ไป แทนที่จะพัฒนาปอดและอาศัยอยู่บนบก กลับรักษาการหายใจทางเหงือกและอาศัยอยู่ในน้ำต่อไป

จากการสำรวจทะเลสาบ Xochimilc ในปี 1998, 2003 และ 2008 พบอาโชโลตล์ 6,000, 1,000, and 100 ตัวต่อตารางกิโลเมตร และในปี 2010 อาโชโลตล์เกือบสูญพันธุ์ไป เนื่องจากมลพิษทางน้ำในเม็กซิโกซิตี้ และการนำพวกเอเลี่ยนสปีชีส์มาปล่อยในแหล่งน้ำ ทำให้อาโชโลตล์ถูกล่าไปมาก ปัจจุบันเจ้าพวกนี้ถูกจัดอยู่ในรายชื่อสัตว์ใกล้สูญพันธุ์
Comments