กระสวยอวกาศ (space shuttle)
เป็นกระสวยอวกาศของประเทศสหรัฐอเมริกา ถูกสร้างขึ้นโดยองค์การนาซา (NASA) ชื่อเรียกอย่างเป็นทางการคือ Space Transportation System (STS) สเปซชัทเทิล ทะยานขึ้นเหมือนจรวด มีปีกและตอนกลับสู่โลกจะร่อนลงตามรันเวย์
กระสวยอวกศนัน ถูกออกแบบมาให้สามารถใช้ซ้ำได้เป็น 10 ปี หรือประมาณ 100 ครั้งเลยทีเดียว กระสวยอวกาสนั้นมีส่วนที่สำคัญคือ "ออร์บิเตอร์" (orbiter หมายถึง ยานโคจร) ข้างๆออรืบิเตอร์นั้นจะมีแทงค์น้ำมันขนาดใหญ่เรียกว่า "External Tank" หน้าที่ของมันคือ จะกักเก็บออกซิเจนและไฮโดเจนในขณะที่กระสวยขึ้นนั้น เชื่อเพลิงเหล่านี้จะถูกสูบไปยังเครื่องยนต์หลัก 3เครื่องของออร์บิเตอร์ และยังมีแทงคืเล็กๆที่อยู่ข้างๆอีกด้วย ซึ่งจะคอยทำหน้าที่เป็นแรงผลักในขณะที่กระสวยขึ้น เรียกว่า Soild fuel Rocket Booster หรือ SRB นั้นเอง
กระสวยนาวาถูกสร้างขึ้นมาทั้งหมด 6 ลำ ตามลำดับ ได้แก่
-กระสวยอวกาศเอนเทอรืไพรซ์
-กระสวยอวกาสโคลัมเบีย
-กระสวยอวกาศชาเลนเจอร์
-กระสวยอวกาศดิสคัฟเวรี
-กระสวยอวกาสแอตแลนติส
-กระสวยอวกาศเอนเดฟเวอร์
ภายใน กระสวยอวกาศทั้ง 6ลำมี มีอยู่สองลำที่เกิดอุบัติเหตุและทำให้นักอวกาศที่อยู่ภายในกระสวยเสียชีวิตทั้งหมด คือ กระสวยอวกาศโคลัมเบียและกระสวยอวกาศชาเลนเจอร์
ในวันที่ 28 มกราคม ปี 1986
กระสวยอวกาสชาเลนเจอร์มีอุบัติเหตุเกิดการระเบิดขณะที่กำลังทยานขึ้นจากพื้นโลกได้เพียง 73 วินาทีเท่านั้น ลูกเรือ7คนเสียชีวิตทั้งหมด สาเหตุที่ระเบิดนั้น เกิดจากการที่มีรอยรั่วบริเวณจรวด SRBด้านขวาทำให้เชื้อเพลิงรั่วและเกิดการเผาไหม้ที่ช่องว่างระหว่างจรวด SRBและถังเชื้อเพลิงหลัก
ต่อมาในปี 2003 วันที่ 1 กุมภาพันธ์ กระสวยโคลัมเบียเกิดประสบอุบัติเหตุขณะกลับสู่โลก ขณะกลับสู่พื้นโลกปีกของกระสวยเกิดการเสียหายจากการกระแทกของชิ้นส่วนโฟมจากถังเชื้อเพลิงหลักหลุกขณะขึ้นบิน ทำให้ยานแตกออกเป็นเสี่ยงๆขณะเสียดสีกับชั้นบรรยากาศของโลก เป็นเหตุให้ลูกเรือ 7คนเสียชีวิตทั้งหมด นับเป็นโศกนาฏกรรมที่หน้าเศร้า
ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2011 นาซ่ายุติโครงการกระสวยอวกาศ หลังจากกระสวยอวกาศลำแรกขึ้นสู่อวกาศมานานกว่า 30 ปี รวมถึงระยะเวลาพัฒนาอีกกว่า 20 ปี
-วันที่ 9 มีนาคม ค.ศ. 2011 กระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรีถูกปลดประจำการ
-วันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 2011 กระสวยอวกาศเอนเดฟเวอร์ถูกปลดประจำการ
-วันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 2011 กระสวยอวกาศแอตแลนติสถูกปลดประจำการ นับเป็นกระสวยอวกาศลำสุดท้ายที่ได้ขึ้นบินสู่อวกาศ
Comments