วัฒนธรรมสิกันเป็นชื่อที่ Izumi Shimada นักโบราณคดีตั้งให้กับชนเผ่าที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งทางเหนือของเปรูในช่วงปี 750 - 1375 ซึ่ง Sican หมายถึง วิหารแห่งดวงจันทร์ วัฒนธรรมสิกันมีความเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมโมเช (Moche culture) ยังมีข้อถกเถียงกันระหว่างนักโบราณคดีและนัก
มานุษยวิทยาในการแบ่งแยกเป็น 2 วัฒนธรรม วัฒนธรรมสิกันแบ่งเป็น 3 ช่วงหลักๆ คือ Early Sican, Middle Sican และ Late Sican
Early Sican
สิกันช่วงต้น อยู่ระหว่างปี 750-900 คาดว่าสิกันน่าจะเป็นลูกหลานของวัฒนธรรมโมเชซึ่งเสื่อมถอยลงในปี 800 งานประดิษฐ์ต่างๆของสิกันช่วงต้นยังไม่พัฒนา มีแม่ลายที่คล้ายกับของกาคามาร์กา (Cajamarca) วาริ (Wari) และปาชากามัก (Pachacamac) เป็นงานเซรามิกสีดำ มีความันเงา เนื่องจากในช่วงนั้นผู้คนยังไม่มีความรู้ในการประดิษฐ์มากนัก
ช่วงราวๆปี 800 วัฒนธรรมสิกันมีการตั้งเมืองขึ้นชื่อว่า โปมา (Poma) ตั้งอยู่ที่บาตัน กรันเด (Batán Grande) ในหุบเขาลา เลเช (La Leche) ซึ่งมีการค้นพบหลักฐานต่างๆที่บ่งบอกว่ามีการทำการค้าหอยกับชาวเอกวาดอร์ในปัจจุบัน ค้ามรกตและอำพันโคลอมเบีย ค้าหินสีฟ้ากับชิลี (หินสีฟ้า) และค้าทองกับคน
แถวแม่น้ำ Marañón
Middle Sican
สิกันช่วงกลาง อยู่ระหว่างปี 900-1100 เป็นยุคเฟื่องฟูของวัฒนธรรมสิกัน เนื่องจากหลายวัฒนธรรมโดยรอบที่ไม่คาดคิดว่าจะเสื่อมถอยก็เสื่อมถอยลง เช่น วัฒนธรรมวาริ และกาคามาร์กาช่วงกลาง ซึ่งสิกันช่วงกลางมีเอกลักษณ์พิเศษ 6 อย่างคือ ศิลปะและคตินิยม งานฝีมือและเทคโนโลยี พิธีศพ การค้าทางไกล ศาสนาและการสร้างวัด และโครงสร้างการปกครอง สิ่งเหล่านี้ทำให้วัฒนธรรมสิกันมีเศษฐกิจที่ดีมาก มีการเปลี่ยนแปลงทางสัมคมที่ชัดเจน และมีอิทธิพลกับการนับถือศาสนาด้วย
งานศิลปะของสิกันแสดงถึงธรรมชาติ มีทั้งงานเซรามิก งานโลหะ และสิ่งทอ ซึ่งงานทั้งหมดทำออกมาในสไตล์ใหม่และมีเอกลักษณ์ สัญลักษณ์ต่างๆได้แรงบรรดาลใจมาจากเทพสิกัน ลายตกแต่งงานศิลปะมักจะเป็นหน้ากากและตาเฉียง บางครั้งก็เป็นส่วนต่างๆของนก เช่น ปีก จะงอยปาก และกรงเล็บ ซึ่งเชื่องโยงกับ Naylamp ในตำนานของสิกัน
Late Sican
สิกันช่วงปลาย เริ่มขึ้นเมื่อประมาณปี 1100 เนื่องจากช่วงปี 1020 เกิดภัยแล้งขึ้นยาวนาน 30 ปี ทำให้เทพสิกันเป็นที่พึ่งเดียวที่สามารถขอน้ำได้ มีการจัดพิธีขึ้นที่กลางเมืองสิกัน เนื่องจากผู้คนเชื่อว่าเทพสิกันเป็นตัวเชื่อมระหว่างธรรมชาติและมนุษย์ และการเกิดภัยแล้งนี้ก็เกิดจากเทพสิกัน หลังภัยแล้ง 30 ปีก็เกิดเหตุไฟไหม้สถานที่ทำพิธีและถูกปล่อยร้างตั้งแต่ปี 1050-1100
การเกิดภัยแล้งถึง 2 ครั้ง ทำให้ไม่สามารถทำการเกษตรในพื้นที่ได้ ชาวบ้านเริ่มมีความอดทนน้อยลง จึงต้องย้ายพื้นที่ออกไปเพื่อรักษาชีวิตชาวเมืองไว้ และไม่ได้มีการซ่อมแซมเมืองสิกัน ต่อมาช่วงปี 1100 เกิดเอลนีโญทำให้เกิดน้ำท่วมหนัก
Comentários